ผู้เขียน


ประวัติ

 ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5)ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง7หัวเมืองรัตนโกสินทรศก120ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานีหนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามันในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปีพ.ศ.2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ.2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหาต่อมาพ.ศ.2475ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานีและในปีพ.ศ.2476 เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 เรื่องการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ

ความหมายของชื่อจังหวัด เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มาเลย์: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มาเลย์:Jalor, جالور) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า ชาละ หรือ ชาลีหมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[3] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกผู้เขานี้ว่า ยะลา หรือยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้ เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้

ประชากร และประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1 นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยพุทธ, ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวซาไก ซึ่งตั้งถิ่นฐานในเขตหมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้อพยพไปอยู่ในมาเลเซีย ด้วยเหตุผลด้านที่ทำกินและวิถีชีวิตที่ดีกว่า ประกอบกับเหตุผลด้านความไม่สงบ จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสี่จังหวัดของไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 75.42 รองลงมาคือศาสนาพุทธร้อยละ 24.25 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.33 มีมัสยิดทั้งหมด 453 แห่ง, วัดในพุทธศาสนา 45 แห่ง, โบสถ์คริสต์ 6 แห่ง และคุรุดวาราศาสนาซิกข์ 1 แห่ง อย่างไรก็ตามจังหวัดยะลาเป็นหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีสัดส่วนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด

หน่วยการปกครอง การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน อำเภอเมืองยะลา อำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอกาบัง อำเภอกรงปินัง

อุทยาน อุทยานแห่งชาติบางลาง อุทยานน้ำตกธารโต น้ำตกละอองรุ้ง น้ำตกสุขทาลัย น้ำตกลาตอ

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิทยาลัยชุมชนยะลา ศูนย์วิทยพัฒนา จังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา ยะลา วิทยาลัยเทคนิคยะลา ยะลา วิทยาลัยสารพัดช่าง ยะลา วิทยาลัยการอาชีพรามัน ยะลา วิทยาลัยการอาชีพเบตง ยะลา

ระดับมัธมยมศึกษา โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง 2 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง 3 โรงเรียนสตรียะลา โรงเรียนกาบังพิทยาคม โรงเรียนอาลาวียะห์วิทยา โรงเรียนพัฒนาวิทยา โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง โรงเรียนจันทร์ประภัสสร์อนุสรณ์ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ โรงเรียนนิคมพัฒนวิทย์ โรงเรียนบันนังสตาวิทยา โรงเรียนเบตง (วีระราษฎร์ประสาน) โรงเรียนยะหาศิรยานุกูล โรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ โรงเรียนยะลาวิทยาลัย โรงเรียนรังสีอนุสรณ์ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ยะลา โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ ยะลา โรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ โรงเรียนธรรมอิสลามศึกษา โรงเรียนคุรุชนพัฒนา

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กศน.อำเภอเมืองยะลา กศน.อำเภอรามัน กศน.อำเภอกรงปินัง กศน.อำเภอยะหา กศน.อำเภอกาบัง กศน.อำเภอบันนังสตา กศน.อำเภอธารโต กศน.อำเภอเบตง

แหล่งข้อมูลเว็ปไซล์
https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดยะลา )

No comments:

Post a Comment